ปัญหามลพิษและสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันมีความสำคัญต่อทุกประเทศทั่วโลก

12

มลพิษอันเกิดจากการกระทำของมนุษย์ได้แก่การตัดไม้ทำลายป่าการใช้สารเคมีในทางอุตสาหกรรม และการเผาไหม้เชื้อเพลิงโดยเฉพาะพวกถ่านหินน้ำมันเชื้อเพลิงก่อให้เกิดแก๊สต่าง ๆอาทิเช่นคาร์บอนไดอ๊อกไซด์มีเทนไนตรัสอ๊อกไซด์โคลโรฟลูโอโรคาร์บอนเป็นต้นซึ่งเป็นแก๊สที่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่ออุณหภูมิของโลกโดยที่แก๊สเหล่านี้จะสะสมกันอยู่ในบรรยากาศทำให้อากาศร้อนอบอ้าวเหมือนอยู่ในเรือนกระจก คาร์บอนไดอ๊อกไซด์นับเป็นแก๊สที่ทำให้เกิดความร้อนในโลกได้มากที่สุดว่ากันว่ามีถึงครึ่งของแก๊สทั้งหมดที่ทำให้โลกร้อนที่ทำให้เกิดภาวะเรือนกระจก ส่วนใหญ่เกิดจากจากเผาเชื้อเพลิงจำพวกถ่านหินและน้ำมันต่อมาก็เป็นพวกสารเคมีจำพวกโคลโรฟลูโอโรคาร์บอนร้อยละ 20 มีเทนร้อยละ 1.5 นอกนั้นก็เป็นโดยการตัดไม้ทำลายป่า

นักวิทยาศาสตร์พยากรณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยจะสูงกว่ายุคใดในประวัติศาสตร์กล่าวคือ 1.5o ถึง 4.5o ใน 40 ปีข้างหน้า และจะเป็นผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในลมฟ้าอากาศกระแสน้ำในมหาสมุทร และน้ำแข็งที่ปกคลุมบนพื้นโลกมากขึ้นระดับน้ำทะเลอาจขึ้นถึง 0.5 ถึง 2.0 เมตรสารเคมีโดยเฉพาะโคลโรฟลูโอโรคาร์บอน เป็นตัวสำคัญที่ทำลายชั้นโอโซนทำให้แสงอุลตราไวโอเล็ตจากดวงอาทิตย์สามารถส่องลงมาบนพื้นโลกได้มากอันเป็นอันตรายต่อชีวิตของมนุษย์สัตว์และพืชสารชนิดนี้ปกติใช้ในการอุตสาหกรรมหลายอย่างเช่นในการทำความเย็นในเครื่องเย็น และเครื่องปรับอากาศเป็นตัวทำลายในการชำระล้างเครื่องอีเลคทรอนิคเป็นตัวช่วยฉีดในกระป๋องผลิตภัณฑ์ที่ใช้พ่นฉีด และเป็นสารที่ใช้ในกรรมวิธีทำภาชนะบรรจุ และวัตถุที่ใช้ทำฉนวน

โดยที่ คลอโรฟลูโอโรคาร์บอนเป็นแก๊สที่สำคัญที่ทำให้เกิดบรรยากาศเรือนกระจกมากที่สุดผู้แทนจากหลายประเทศรวมทั้งองค์การเอกชนที่มีความห่วงใยในอนาคตของโลกได้ประชุมกันและทำสนธิสัญญาตกลงที่เฮลซิงกิเรียกว่าแถลงการณ์เฮลซิงกิให้เลิกใช้สารคลอโรฟลูโอโรคาร์บอนในปี ค.ศ. 2543 หลังจากแถลงการณ์นั้นก็ได้มีการประชุมแก้ไขสนธิสัญญาเพื่อเลิกลดการใช้คลอโรฟลูโอโรคาร์บอนให้เร็วขึ้นกว่าเดิม และใช้สารอื่นทดแทนให้มีการนำเทคโนโลยีและข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ให้ทางประเทศกำลังพัฒนานำไปปฏิบัติเพื่อลดการใช้ คลอโรฟลูโอโรคาร์บอน ด้วยเนื่องจากมีรายงานจากองค์การป้องกันสิ่งแวดล้อมสหรัฐว่า 1 ใน 4 ของแก๊สที่ทำให้เกิดบรรยากาศเรือนกระจกปัจจุบันมาจากประเทศทางเอเซียโดยเฉพาะประเทศจีนญี่ปุ่น และอินเดียจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงประเภทถ่านหินลิกไนท์และน้ำมัน และจะมีปริมาณมากขึ้นตามการพัฒนาของเศรษฐกิจและความหนาแน่นของประชากร